Electric Dream เป็นซี่รี่ย์รายการโทรทัศน์แนว reality show ของทางสถานีโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษ ร่วมกับ Open University เริ่มออกอากาศที่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายน 2009 แต่เพิ่งเข้ามาฉายในไทยเมื่อ มกราคม 2010 ตอนนี้เอาฉาย re-run อีกครั้ง เวลา 23.00น. ของทุกวันพฤหัสบดี
โดยอาสาสมัครคือ ครอบครัวยุคใหม่แห่งปี 2009 ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกๆอีก4คน ที่ใช้ชีวิตแบบคนยุคใหม่ทั่วไป ที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โทรศัพท์มือถือ ดูโทรทัศน์จากรายการผ่านดาวเทียม ฟังเพลงด้วย iPod อยู่ในบ้านแบบห้องชุดที่เต็มไปด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่ทันสมัย
พวกเขาทั้งหมดจะต้องย้อนกลับไปจำลองการใช้ชีวิตในช่วงยุค 70s, 80s, 90s โดยวัตถุประสงค์ของรายการนี้คือการศึกษาเรื่องผลกระทบต่อครอบครัวจากการเปลี่ยแปลงทางเทคโนโลยี ในหลายๆด้านอย่างในเรื่องของมุมมองทางความคิดและการปฎิสัมพันทางสังคม (ที่แม้จะเป็นเรื่องของฝรั่งมังค่า แต่ผมว่าก็น่าจะใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบกับสังคมไทยหรือในประเทศอื่นๆได้) เวลา1วันที่ผ่านไป เท่ากับ1ปีในแต่ละยุค โดยทั้งครอบครัวนี้ จะต้องตัดขาดจากเทคโนโลยีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยมีใช้ได้แค่เทคโนโลยีตามยุคสมัยของช่วงนั้น (เช่น เครื่องเล่นวีดีโอ ในปี 1981 และ home computer ในปี 1983) แม้แต่สไตลืการตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า รวมถึงรถยนต์ ก็ถูกเปลี่ยนเป็นของยุคนั้นด้วย
แต่ไม่ได้เหมือนกับรายการ reality ทั่วไป ทุกคนในครอบครัวยังคงปฎิบัติหน้าที่ตามปกติ พ่อไปทำงาน เด็กๆไปโรงเรียน มีเพื่อนๆมาเยี่ยม รวมถึง dinner parties
โดยมีทีมงานทางเทคนิคคอยช่วยในการจัดหาเทคโนโลยีแนว retro ตามแต่ละยุคสมัยและทำให้มันใช้งานได้ และส่งมันให้กับครอบครัวนี้ตามแต่ละช่วงเวลาของปี ประกอบด้วย Gia Milinoxich นักเขียนด้านเทคโนโลยีและมีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์มายาวนาน, Tom Wrigglesworth นักแสดงตลกและผู้หลงใหลในเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุปกรณ์ด้านการสื่อสารและ audi-visual , และ Dr.Ben Highmore นักสังคมวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภายในบ้าน 3คนผู้เป็นเสมือน call center ของครอบครัวนี้ตลอดช่วงรายการ เมื่อยามที่ครอบครัวนี้สงสัยเรื่องใด หรืออุปกรณไฟฟ้าสักชิ้นเกิดเสียขึ้นมา
และในแต่ละยุค พวกเขาจะต้องทำสิ่งเป็นเสมือน quest ก่อนจบยุค ในลักษณะของการจัดปาร์ตี้แล้วชวนเพื่อนบ้านมาร่วม โดยเป็นปาร์ตี้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีต่างๆในยุคนั้นที่พกวเขาได้สัมผัสในรายการ อย่างตอนช่วงยุค 70s ก็ต้องใช้กล้อง 35มม. ทำภาพสไลด์ฉายให้เพื่อนที่มาร่วมปาร์ตี้ดู พร้อมทั้งทำอัลบั้มรวมเพลงจากเครื่อง music center ในยุค80 ก็ได้ทำมิวสิควีดีดอสไตล์ home made ด้วยกล้องวีดีโอขนาดเทอะทะ ใส่เพลงประกอบด้วยเพลงป๊อบในยุคนั้นกับบบรเลงเพลงจาก keyboard และในยุค 90s ก็ได้จัด millennium party จำลองปาร์ตี้ปีใหม่ตอนช่วงเข้าปี 2000
ระหว่างช่วงเวลาในแต่ละยุคสมัยยั้น รายการโทรทัศน์ที่ดู ก็เป็นรายการของยุคสมัยเวลานั้นด้วย รวมถึงรายการข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การประท้วงหยุดงานและตัดไฟฟ้าในช่วงยุค 70s เหมือนเป้นการได้เรียนประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองเขาไปในตัว หรือแม้แต่ตอนยุค 90s ที่ทางเทคนิคต่อ internet มาให้ครอบครังนี้ได้ใช้ ก็ปรับความเร็วให้มันช้าลงเท่ากับของในยุคสมัยนั้น รวมถึงเว็บไซต์ที่มีให้เข้าใช้ได้ ก็เป็นของยุคนั้นด้วย
ผมได้ดูรายการนี้ตั้งแต่ตอนมันมาฉายครั้งแรกแล้ว แต่ดูอีกก็ยังสนุกอยู่ สิ่งที่ผมชอบรายการนี้ก็คือ นอกจากได้เห็นเทคโนโลยีแนว retro แล้ว ยังได้เห็นถึงสิ่งที่ทางรายการนำเสนออย่างแท้จริง คือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่อคนในครอบครัว จากคำพูดของพ่อแม่และลูกๆที่รู้สึกต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวัน อย่างเช่น
ตอนช่วงเริ่มรายการ Georgie ผู้เป็นแม่ พุดออกมาว่า “ฉันว่ามันเป้นสิ่งที่ดีในยุค 70s ที่ทุกคนมาทานอาหารร่วมกัน ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ดูโทรทัศน์ร่วมกันที่ห้องรับแขก มากกว่าแต่ก่อน”
ตอนช่วงยุค 70s ทุกคนในครอบครัวได้รับจักรยานทรงช็อปเปอร์จากทีมเทคนิค Hamish หนึ่งในลูกทั้ง4ของครอบครัวได้ขี่จักรยานออกไปในเมืองโดยไม่ขออนุญาตและกลับบ้านมาตอน 19.30น. เลยโดนผุ้เป้นแม่ลงโทษให้อยุ่แต่ในห้องไม่ให้กินอาหารเย็น หนึ่งในประโยคของผู้เป็นแม่ที่ผมจำได้คือ “ถ้าเป็นปี 2009 ฉันคงไม่ลงโทษลูกด้วยการไล่เขาขึ้นไปบนห้องแน่ๆเพราะบนนั้นเขามีทั้งคอมพิวเตอร์ วีดีโอเกม โทรทัศน์”
ตอนช่วงยุค 90s ที่ทีมเทคนิคส่ง จานดาวเทียมพร้อมเครื่องรับสัญญาณมาให้ หนึ่งในคำพูดของผู้เป็นแม่ที่พูดออกมาคือ “ไม่รู้สินะ ฉันว่าการติดมันไว้หน้าบ้าน มันเหมือนกับสัญลักษณ์ที่บอกให้คนผ่านไปผ่านมารู้ว่า ฉันเป้นพวกติดทีวีขนาดหนัก” เป็นทัศนิคติอีกมุมมองต่อจานดาวเทียมที่แปลกมาก
และเหตุผลที่ทำไมผมถึงเอามาแนะนำว่า ทำไมทุกคนในที่นี้ ที่ที่บ้านติด True Visions น่าจะกดไปดู แน่นอนครับว่า ถ้ามันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าแนว retro อย่างเครื่องเล่นจานเสียง โทรทัศน์ขาวดำ คอมพิวเตอร์ laptop ยุคบุกเบิก อยู่ด้วยแล้ว เครื่องเล่นวีดีโอเกมยุคเก่า ก็ต้องมีมาให้เห็นด้วยเช่นกัน มีมาเยอะเลยครับ เครื่อง Pong ก็มี home computer ยุคเก่าๆก็เช่นกัน
และนับถือทีมเทคนิคของรายการนี้จริงๆครับ ทั้งเรื่องการหาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ การหาสำเนารายการโทรทัศน์ของแต่ละสมัยมาฉายให้ครอบครัวนี้ดูทางทีวีตลอดช่วงรายการทั้ง 3 ตอน การตกแต่งบ้านให้เข้ากับแต่ละยุคซึ่งก็เป็นงานขนานใหญ่ อย่างในช่วงยุค70s ที่บ้านในอังกฤษส่วนใหญ่ยังไม่มีเครื่องทำความร้อนแบบท่อ ไม่มีห้องแบบห้องชุด (พวกห้องนอนใหญ่ที่มีห้องน้ำในตัว) หรือครัวกว้างๆ ก็ต้องจัดการปิดระบบทำความร้อนทั้งบ้าน กั้นห้องครัวให้เล็กลง และกั้นประตูห้องน้ำในห้องนอนใหญ่ของพ่อแม่ ไหนจะ wall pares ทั้งบ้านอีก
เป็นรายการที่ดีครับ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้านเทคโนโลยีภายในบ้าน ผลกระทบต่อครอบครัวจากการเข้ามาของเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ในเห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแนว retro ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลายๆอย่างที่เป็นแง่ความรู้ ก้เอามาใช้เทียบเคียงกับสังคมไทยได้โดยตรง และดุแล้วก็นึกถึงสิ่งที่ผ่านมาในชีวิตเราเมื่อครั้งก่อน อย่างในตอนของยุค90s นี่โดนใจอย่างแรง การมาถึงของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพจเจอร์ และโทรศัพท์มือถือ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ คอมพิวเตอร์ที่ราคาถูกลงและมีใช้กันแทบทุกบ้าน การมาถึงของอินเตอร์เน็ต การเริ่มต้น text massage และเครื่องเล่น mp3 ในช่วงตอนปลายของยุค เหมือนชีวิตของพวกเราทุกคนเป๊ะเลยนะ
อันนี้ก็ link ของรายการนี้ครับ เป็นเว็บไซต์ของทาง BBC
www.bbc.co.uk/electricdreams/about.shtml
และมีคลิปรายการนี้ให้ดูด้วยเช่นกันใน Youtube ไป search หากันเองนะครับ
เกือบลืม มี time-tunnel อันเป็นหนึ่งในลุกเล่นของเว็บไซต์ให้เข้าไปดูประวัติศาสตร์พร้อมกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเทคโนโลยีในแตละยุคสมัย พร้อมส่วนแสดงความคิดเห้น มี wall paper ให้ดหลดกันด้วย